วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

 ความหมายของคอมพิวเตอร์ 
        คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
   บิดแห่งคอมพิวเตอร์ คือ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) 

 ยุคคอมพิวเตอร์มีกี่ยุค อะไรบ้าง ? 
มี 5 ยุค ดังนี้
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
 
มาร์ค วัน (MARK I)
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

ทรานซิสเตอร์หลายๆแบบ
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508 - 2513) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้วงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรกึ่งตัวนำเอาไว้มาก แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิคอน เรียกว่า "ชิป" (Chip) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก จึงทำให้เครื่องในยุคนี้มีขนาดเล็กลง เขียนชุดคำสั่งด้วยภาษาระดับสูง และเริ่มมีโปรแกรมสำเร็จรูปใช้งาน ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM3603. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508 - 2513) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้วงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรกึ่งตัวนำเอาไว้มาก แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิคอน เรียกว่า "ชิป" (Chip) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก จึงทำให้เครื่องในยุคนี้มีขนาดเล็กลง เขียนชุดคำสั่งด้วยภาษาระดับสูง และเริ่มมีโปรแกรมสำเร็จรูปใช้งาน ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM360
IBM360

- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514 - 2523) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จนถึงปัจจุบัน ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Circuit) คือ การใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิคอนชิป 1 แผ่น ซึ่งทำให้เล็กลงไปอีกมาก และกลายเป็นวงจร VLSI (Very Large -Scale Integrated Circuit) ซึ่งสามารถบรรจุวงจรได้มากกว่า 1 ล้านวงจร และด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ลงในชิปตัวเดียว นั่นคือส่วนของ CPU (Central Processing ๊๊Unit) อยู่บนชิปตัวเดียวเรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM 370 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก คือ Altair 8800 , a\Apple II เป็นต้น
Altair 8800 
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน) ยุคของวงจร VLSI เป็นช่วงที่กำลังพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยี ทางสถาปัตยกรรมโครงสร้าง และการพัฒนาภาษาที่ใช้กับระบบซอท์ฟแวร์เพื่อให้รับรู้ภาษาพูดของมนุษย์โดยตรง มีหน่วยความจำขนาดมหึมาพอกับการจัดการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งต่อไปเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่หยุดทำงานเพราะมีระบบแก้ไขข้อขัดข้องภายในตัวมันเอง และมีความสามารถสูงพอที่จะรับคำสั่งจากภาษาพูดของมนุษย์ได้ จนถือว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้จำเป็นอย่างหนึ่งภายในบ้าน
วงจร VLSI 
 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์? 
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ
• หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ โดยรับคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้แล้วแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้และนำไปใช้ทำงานได้
Keyboard
เมาส์
• หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ และการประมวลผลข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง

• หน่วยส่งออก (Output Unit) ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางไปแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้
จอภาพ
• หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นหน่วยความจำที่สนับสนุนการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางโดยตรง ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลหรือคำสั่งที่เตรียมไว้สำหรับให้หน่วยประมวลผลกลางนำไปใช้ในการทำงาน และบันทึกผลลัพธ์จากการทำงานแต่ละขั้นที่อาจต้องนำกลับมาใช้ในการทำงานในขั้นต่อไป (เหมือนเป็นกระดาษทด) ตลอดจนบันทึกผลลัพธ์จาการทำงานขั้นสุดท้าย เพื่อพักไว้สำหรับส่งต่อไปยังหน่วยส่งออก
RAM
• หน่วยความจำรอง (Secondary Memory) โดยมากเป็นหน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ แต่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลต่ำ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมซึ่งต้องการเก็บอย่างคงทน เมื่อหน่วยประมวลผลกลางต้องการข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำรอง จะต้องโอนถ่ายข้อมูลหรือโปรแกรมนั้นไว้ในหน่วยความจำหลักก่อนส่งไปให้หน่วยประมวลกลาง

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของ DSS

    ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบ่งตามผู้ใช้งานเป็น 2 ประเภท คือระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลและระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล
    ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล เป็นระบบสารสนเทศที่มีผู้ใช้หรือผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียว ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องมีอำนาจในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศประเภทนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบสารสนเทศของผู้บริหาร หรือ (EIS) (Executive Information System ) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้มของเรื่องที่สนใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
     ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มหรือ GDSS (group decision support system) เป็นระบบสารสนเทศที่พฒนามาจากระบบสารสนเทศสนบสนุนการตัดสินใจของบุคคลเรื่องจากการทำงานภายในองค์กรมักใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้ที่มีจำนวนมากกว่า 1 คนในการตัดสินใจการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในผลการตัดสินใจนั้น ๆ

ความแตกต่างของระบบ EIS และ ระบบ GDSS
    ระบบของ GDSS จะเน้นออกแบบไปในทางที่ประชากรเป็นกลุ่มๆ ทางด้านความสามารถนั้น
จะต้องหาบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้พอสมควร ในด้านข้อมูลถือว่ามีความละเอียดสูงโดยจะได้รับความคิดเห็นได้หลากหลาย แล้วนำข้อเสนอหรือความคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไขได้
ส่วนของระบบ EIS จะเน้นไปในทางของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ได้มีความรวดเร็วเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน โดย จะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มในภายภาคหน้าได้ ซึ่งเป็นระบบสำคัญให้กับองค์กรหรือบริษัทของผู้บริหารเป็นอย่างดี เป็นตัวช่วยในหารตัดสินใจที่ดี

ที่มา http://abutkun.wordpress.com/
http://thanasite.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html

โปรแกรม DSS

โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS)
ภาพโครงสร้างของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัย
รูป :โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ําทวม
โครงสร้างของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS)
1. ตรวจวัดอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWS)
2. การสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูล ผลการตรวจอากาศและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการคาดหมาย แบ่งย่อยเป็นตามขั้นตอนดังต่อไปนี้2.1 ผลการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWS) ส่งผ่านระบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์หลัก (Web Server) โดยที่การตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติจะทำการรายงานทุกๆ 5 นาที
2.2 การวิเคราะห์ผลการตรวจอากาศที่ได้จากขั้นตอนแรกโดยการกำหนดค่าวิกฤตของพารามิเตอร์ทางอุตุนิยมวิทยาแต่ละตัว เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ทางอุตุนิยมวิทยา และแสดงเสถียรภาพของบรรยากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดฝนตกหนัก
2.3 การคาดหมายการเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนที่ของตัวระบบลมฟ้าอากาศที่วิเคราะห์ได้ในขั้นตอนที่สอง โดยใช้วิธีทฤษฎีโครงข่ายใยประสาทเทียม (ANN) เป็นเครื่องมือในการพยากรณ์อากาศ
2.4 การออกคำพยากรณ์ช่วงเวลาและบริเวณที่ต้องการ โดยพิจารณาจากตำแหน่งและความรุนแรงของระบบลมฟ้าอากาศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว
3. การส่งคำพยากรณ์อากาศไปยังสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อไปสู่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไปตามความเหมาะสม เช่น การป้องกัน และบรรเทาภัยพิบัติ


ลักษณะการทำงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS) ในประเทศไทย
ผลการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติส่งผ่านระบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์หลัก (Web Server) ที่กรุงเทพฯในชื่อว่า weather.nakhonthai.net มีการแสดงผลลัพธ์เป็นทั้งตัวเลข ณ เวลาล่าสุด และเป็นรูปแบบกราฟเส้นในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง 72 ชั่วโมงโดยที่การตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติจะทำการรายงานทุกๆ 5 นาที มีการดึงข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Downloader จากเครื่องคอมพิวเตอร์ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ ดึงข้อมูลผลการตรวจอากาศผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://weather.nakhonthai.net/data ดึงข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://metocph.nmci.navy.mil/sat/gms_nwtrop/ir/ และดึงข้อมูลเวอร์ทิซิตี้ที่ระดับ 500 เฮกโตปาสคาล ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://www.marine.tmd.go.th/html/rjtd-vorticity/ ข้อมูลต่างๆ ก็จะมาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในโฟลเดอร์ที่กำหนด หลังจากนั้นในทุกๆ เช้าก็จะมีการใช้โปรแกรม GenDSS ในการจัดเตรียมฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแสดงผลโดยจะทำการเตรียมฐานข้อมูลแบบ Last day สำหรับข้อมูลในอดีตในส่วนข้อมูลปัจจุบันจะใช้ป้าย Today เพื่อป้อนให้กับโปรแกรม DSS ในการประมวลผลต่อไป
รูป : โปรแกรม DSS
         โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ําทวม เปนเครื่องมือที่ชวยในการเตือนภัยน้ำทวมไมใชโปรแกรมแกรมหลักที่ใชในการเตือนภัย แตจะชวยผูปฏิบัติงานด้านการเตือนภัยดานน้ำทวม เชน นักพยากรณอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา หรือเจาหนาที่ของศูนยเตือนภัยพิบัติแหงชาติ นักอุทกวิทยาของกรมชลประทานที่มีความเขาใจในระบบอากาศดีอยูแลว

ที่มา http://weatherwatch.in.th/index.php?ind=news&op=news_show_category&idc=2

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)

        ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ


ลักษณะของ DSS
1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค

ประโยชน์ของ DSS
1) ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างและและไม่มีโครงสร้าง
2) ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่ต้องมีการอาศัยข้อมูลด้วยกัน
3) มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ
4) ปรับให้ทำงานง่ายเข้ากับผู้ใช้แต่ละคน
5 )ส่งเสริมให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้
6) จะใช้กับงานเชิงปริมาณ
7) ใช้กับงานที่สลับซับซ้อน
8) พัฒนาให้เป็นงานบนเว็บได้
9) ใช้ในการวิเคราะห์ได้

ส่วนประกอบและโครงสร้างของ DSS
        ระบบ DSS มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ การจัดการด้านข้อมูล (Data management) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์ (user interface) และการจัดการโมเดล (model management) (Turban et al.,2001)
1) การจัดการข้อมูล (Data management) ประกอบด้วย ฐานข้อมูลและวิธีการดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการตัดสินใจมาใช้ โดยข้อมูลเหล่านี้อาจจะมาจากดาตาแวร์เฮาส์ของบริษัท หรือฐานข้อมูลปกติทั่วไป หรือจากแหล่งภายนอกก็ได้
2) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์ (User interface) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารและสั่งงานระบบ DSS ได้รูปแบบที่ง่ายที่สุดอาจจะใช้โปรแกรมสเปรดชีท (spreadsheet) หรืออาจจะใช้รูปภาพกราฟฟิคก็ได้
3) การจัดการโมเดล (Model management) ซึ่งประกอบด้วยซอฟต์แวร์ด้านการเงิน สถิติ หรือโมเดลเชิงปริมาณอื่นๆ ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์
4) การจัดการกับความรู้ (Knowledge management) เป็นระบบที่ช่วยป้อนความรู้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะ ระบบนี้จะมีเฉพาะ DSS บางประเภทเท่านั้น