วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

     โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อโครงงานนั้น ๆ การแบ่งขั้นตอนของการทำโครงงานอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงานและการวางแผนการทำโครงงานในที่นี้จะบ่งการทำงานออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้
1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจทำ
      โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องที่จะทำโครงงาน การอ่านค้นคว้า การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยาย รายการวิทยุโทรทัศน์ สนทนาอภิปราย กิจกรรมการเรียนการสอน งานอดิเรก การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้

- จะต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
- สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
- มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
- มีเวลาเพียงพอ
- มีงบประมาณเพียงพอ
- มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
      รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
จะต้องพิจารณาดังนี้ มูลเหตุจูงใจและเป้าหมายในการทำ วัสดุอุปกรณ์ ความต้องการของผู้ใช้งานและคุณลักษณะของผลงาน (Requirement and Specification) วิธีการประเมินผล วิธีการพัฒนา ข้อสรุปของโครงงาน ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม

3. การจัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ
      จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวคิดและวงแผนการพัฒนาล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของโครงงาน ขั้นตอนที่สำคัญคือ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการพัฒนา เสนอเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข

4. การลงมือทำโครงงาน
      เมื่อเค้าโครงได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้ เตรียมการ ลงมือพัฒนา ตรวจสอบผลงานและแกไข อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต

5. การเขียนรายงาน
      เป็นสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ

6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน
      เป็นการนำเสนอเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในโครงงานนั้น ในการเสนออาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ติดโปสเตอร์ การรายงานตัวในที่ประชุม การแสดงผลงานด้วยสื่อต่าง การจัดนิทรรศการ การอธิบายด้วยคำพูด

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างโครงงาน

ชื่อโครงงาน

For-rest (Forrest) เพื่อพักผ่าน (ป่า)

ชื่อผู้ทำโครงงาน

นายเกียรติศักดิ์ สนั่นวงศ์สังข์ นายชัชพิสิฐ สภาวสุ นายอาจหาญ วงศ์ศรีชา

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ วีระวัฒน์ ตันติศิริวัฒน์ 

สถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 

โครงงานได้รับรางวัล

ได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม โครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 ประจำปีงบประมาณ 2551 

ระดับชั้น

อื่นๆ 

หมวดวิชา

คอมพิวเตอร์ 

วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน

ไม่ระบุ

บทคัดย่อ

โครงการ FOR-REST (FOREST) (อ่านได้ที่แปลว่า “เพื่อการพักผ่อน” และเป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “ป่า” ในภาษาอังกฤษ ) จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันความรู้ ส่งเสริมการป้องกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านสื่อเทคโนโลยีเว็บ 2.0 (Social Web) Social Network Service (SNS) โครงการได้เน้นให้เกิดสังคมออนไลน์ขนาดย่อม เพื่อร่วมทำกิจกรรมภายในเว็บไซต์และกิจกรรมนอกสถานที่ ที่ทางเว็บไซต์ได้จัดตั้งขึ้น โดยกิจกรรมภายในได้เน้นให้เกิดทักษะความรู้ต่างๆเกี่ยวกับธรรมชาติมากมาย เช่น การปลูกต้นไม้จำลอง การผสมปุ๋ยจำลอง การดูแลต้นไม้จำลองอย่างถูกวิธี การขอคำปรึกษาจากสมาชิกท่านอื่น การโพสต์คลิปวีดีโอสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยและตกแต่งหน้าเว็บเพจของตนเอง และกิจกรรมภายนอกได้เน้นการนำความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมภายในเว็บไซต์มาใช้งานจริงโครงการ FOR-REST (FOREST) จึงมีความคิดแนวสร้างสรรค์ในการสร้างเว็บไซต์ที่ไม่เป็นเพียงแค่การสนทนากันเท่านั้น แต่ผู้ใช้งานยังสามารถใช้ความรู้ ใช้ความสามารถที่มีอยู่เดิม มาทำกิจกรรมร่วมกันกับทางเว็บไซต์ หลังจากที่ผู้ใช้งานได้ทำกิจกรรมต่างๆ แล้ว ผู้ใช้งานจะได้รับความรู้ ความสามารถเพิ่มเติม แตกต่างจากการอ่านบทความทางวิชาการบนเว็บไซต์อื่นๆเพียงอย่างเดียว เพราะความรู้ความสามารถนี้มาจากการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งานเอง จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถปลูกจิตสำนึกให้กลุ่มเป้าหมายร่วมมือกันช่วยป้องกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ จากพื้นฐานความรู้ที่ทางเว็บไซต์ FOR-REST (FOREST) เป็นผู้กำหนด และจากความรู้ที่สั่งสมและส่งต่อกันเองของกลุ่มผู้ใช้ที่ตั้งเป็น community บนเว็บไซต์นี้แล้วร่วมกัน

....................................................................................................................................


สรุป : จากที่ได้ศึกษาตัวอย่างโครงงานนี้ ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับโครงการ FOR-REST ซึ่งเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันความรู้ ในเรื่องการส่งเสริมป้องกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านทางสื่อเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นเว็บไซต์ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่การสนทนากันเท่านั้น แต่ผู้ใช้งานยังสามารถใช้ความรู้ ความสามารถ มาทำกิจกรรมร่วมกัับทางเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมภายในเว็บไซต์และกิจกรรมนอกสถานที่ ที่ทางเว็บไซต์ได้จัดตั้งขึ้น โดยกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยปลูกจิตสำนึกให้กลุ่มผู้ใช้งานร่วมมือกันช่วยป้องกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/project/view/672