วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

 แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เทคโนโลยีใหม่ของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม 

   การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมทั้งข้อเข่าเสื่อมหรือข้อสะโพกเสื่อม ที่แพทย์จะแนะนำเมื่อผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย รับประทานยา แล้วอาการเจ็บปวดยังไม่ดีขึ้นและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน ไม่มีความสุข
     การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์สูง เนื่องจากจะต้องวางข้อเทียมในตำแหน่งที่ถูกต้องเพื่อให้กลมกลืนกับข้อเดิม หากผิดพลาดก็อาจส่งผลต่อระยะเวลาการใช้งานของข้อเทียม ทำให้อายุการใช้งานของข้อสั้นกว่าที่ควรจะเป็น และผู้ป่วยอาจต้องได้รับการผ่าตัดซ้ำ ซึ่งการผ่าตัดในครั้งต่อๆ ไปอาจทำได้ยากกว่าและไม่ได้ผลดีเท่ากับการผ่าตัดครั้งแรก

      ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม นั่นก็คือ การใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Arm Assisted Joint Replacement Surgery) ซึ่งประกอบด้วย แขนกลหุ่นยนต์ กล้องจับสัญญาณภาพ 3 มิติ และเครื่องประมวลผลที่คอยควบคุมการทำงานทั้งหมดให้สอดคล้องกัน ทำให้สามารถวางแผนก่อนการรักษาได้อย่างละเอียด ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ เที่ยงตรง และลดโอกาสเกิดความผิดพลาดจากการผ่าตัด

    การใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดไม่ได้หมายความถึงการทำหน้าที่แทนแพทย์ แพทย์ยังคงมีบทบาทสำคัญตลอดกระบวนการรักษาเช่นเดียวกับการผ่าตัดปกติ โดยแพทย์จะเป็ ผู้วางแผนกำหนดขนาด องศา และตำแหน่งของข้อเทียมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ก่อนผ่าตัด แล้วส่งข้อมูลไปยังแขนกลหุ่นยนต์ จากนั้นแพทย์จึงทำการผ่าตัดเปิดแผล กรอกระดูก และวางข้อเทียม โดยมีแขนหุ่นยนต์เป็นตัวช่วยควบคุมให้แพทย์สามารถกรอกระดูกเสื่อมเฉพาะที่ต้องการออก และช่วยให้แพทย์สามารถนำข้อเทียมไปใส่ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ได้อย่างแม่นยำ

    ด้วยประสิทธิภาพการทำงานของแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดร่วมกับความเชี่ยวชาญของแพทย์จึงมีข้อดีเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเดิม คือ เส้นเอ็นและเนื้อเยื่อต่างๆ บริเวณรอบเข่าหรือสะโพกที่ยังมีสภาพดีจะไม่บอบช้ำจากการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว สามารถเริ่มเดินได้เองภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บน้อยกว่า รวมถึงข้อเทียมจะมีอายุการใช้งานยืนยาวอย่างที่ควรจะเป็น

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

 ความหมายของคอมพิวเตอร์ 
        คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
   บิดแห่งคอมพิวเตอร์ คือ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) 

 ยุคคอมพิวเตอร์มีกี่ยุค อะไรบ้าง ? 
มี 5 ยุค ดังนี้
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
 
มาร์ค วัน (MARK I)
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

ทรานซิสเตอร์หลายๆแบบ
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508 - 2513) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้วงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรกึ่งตัวนำเอาไว้มาก แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิคอน เรียกว่า "ชิป" (Chip) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก จึงทำให้เครื่องในยุคนี้มีขนาดเล็กลง เขียนชุดคำสั่งด้วยภาษาระดับสูง และเริ่มมีโปรแกรมสำเร็จรูปใช้งาน ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM3603. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508 - 2513) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้วงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรกึ่งตัวนำเอาไว้มาก แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิคอน เรียกว่า "ชิป" (Chip) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก จึงทำให้เครื่องในยุคนี้มีขนาดเล็กลง เขียนชุดคำสั่งด้วยภาษาระดับสูง และเริ่มมีโปรแกรมสำเร็จรูปใช้งาน ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM360
IBM360

- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514 - 2523) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จนถึงปัจจุบัน ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Circuit) คือ การใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิคอนชิป 1 แผ่น ซึ่งทำให้เล็กลงไปอีกมาก และกลายเป็นวงจร VLSI (Very Large -Scale Integrated Circuit) ซึ่งสามารถบรรจุวงจรได้มากกว่า 1 ล้านวงจร และด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ลงในชิปตัวเดียว นั่นคือส่วนของ CPU (Central Processing ๊๊Unit) อยู่บนชิปตัวเดียวเรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM 370 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก คือ Altair 8800 , a\Apple II เป็นต้น
Altair 8800 
- คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน) ยุคของวงจร VLSI เป็นช่วงที่กำลังพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยี ทางสถาปัตยกรรมโครงสร้าง และการพัฒนาภาษาที่ใช้กับระบบซอท์ฟแวร์เพื่อให้รับรู้ภาษาพูดของมนุษย์โดยตรง มีหน่วยความจำขนาดมหึมาพอกับการจัดการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งต่อไปเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่หยุดทำงานเพราะมีระบบแก้ไขข้อขัดข้องภายในตัวมันเอง และมีความสามารถสูงพอที่จะรับคำสั่งจากภาษาพูดของมนุษย์ได้ จนถือว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้จำเป็นอย่างหนึ่งภายในบ้าน
วงจร VLSI 
 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์? 
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ
• หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ โดยรับคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้แล้วแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้และนำไปใช้ทำงานได้
Keyboard
เมาส์
• หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ และการประมวลผลข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง

• หน่วยส่งออก (Output Unit) ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางไปแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้
จอภาพ
• หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นหน่วยความจำที่สนับสนุนการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางโดยตรง ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลหรือคำสั่งที่เตรียมไว้สำหรับให้หน่วยประมวลผลกลางนำไปใช้ในการทำงาน และบันทึกผลลัพธ์จากการทำงานแต่ละขั้นที่อาจต้องนำกลับมาใช้ในการทำงานในขั้นต่อไป (เหมือนเป็นกระดาษทด) ตลอดจนบันทึกผลลัพธ์จาการทำงานขั้นสุดท้าย เพื่อพักไว้สำหรับส่งต่อไปยังหน่วยส่งออก
RAM
• หน่วยความจำรอง (Secondary Memory) โดยมากเป็นหน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ แต่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลต่ำ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมซึ่งต้องการเก็บอย่างคงทน เมื่อหน่วยประมวลผลกลางต้องการข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำรอง จะต้องโอนถ่ายข้อมูลหรือโปรแกรมนั้นไว้ในหน่วยความจำหลักก่อนส่งไปให้หน่วยประมวลกลาง

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของ DSS

    ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบ่งตามผู้ใช้งานเป็น 2 ประเภท คือระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลและระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล
    ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล เป็นระบบสารสนเทศที่มีผู้ใช้หรือผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียว ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องมีอำนาจในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศประเภทนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบสารสนเทศของผู้บริหาร หรือ (EIS) (Executive Information System ) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้มของเรื่องที่สนใจ
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
     ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มหรือ GDSS (group decision support system) เป็นระบบสารสนเทศที่พฒนามาจากระบบสารสนเทศสนบสนุนการตัดสินใจของบุคคลเรื่องจากการทำงานภายในองค์กรมักใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้ที่มีจำนวนมากกว่า 1 คนในการตัดสินใจการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในผลการตัดสินใจนั้น ๆ

ความแตกต่างของระบบ EIS และ ระบบ GDSS
    ระบบของ GDSS จะเน้นออกแบบไปในทางที่ประชากรเป็นกลุ่มๆ ทางด้านความสามารถนั้น
จะต้องหาบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้พอสมควร ในด้านข้อมูลถือว่ามีความละเอียดสูงโดยจะได้รับความคิดเห็นได้หลากหลาย แล้วนำข้อเสนอหรือความคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไขได้
ส่วนของระบบ EIS จะเน้นไปในทางของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ได้มีความรวดเร็วเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน โดย จะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มในภายภาคหน้าได้ ซึ่งเป็นระบบสำคัญให้กับองค์กรหรือบริษัทของผู้บริหารเป็นอย่างดี เป็นตัวช่วยในหารตัดสินใจที่ดี

ที่มา http://abutkun.wordpress.com/
http://thanasite.blogspot.com/2013/06/eis-gdss.html

โปรแกรม DSS

โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS)
ภาพโครงสร้างของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัย
รูป :โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ําทวม
โครงสร้างของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS)
1. ตรวจวัดอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWS)
2. การสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูล ผลการตรวจอากาศและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการคาดหมาย แบ่งย่อยเป็นตามขั้นตอนดังต่อไปนี้2.1 ผลการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWS) ส่งผ่านระบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์หลัก (Web Server) โดยที่การตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติจะทำการรายงานทุกๆ 5 นาที
2.2 การวิเคราะห์ผลการตรวจอากาศที่ได้จากขั้นตอนแรกโดยการกำหนดค่าวิกฤตของพารามิเตอร์ทางอุตุนิยมวิทยาแต่ละตัว เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ทางอุตุนิยมวิทยา และแสดงเสถียรภาพของบรรยากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดฝนตกหนัก
2.3 การคาดหมายการเปลี่ยนแปลง และการเคลื่อนที่ของตัวระบบลมฟ้าอากาศที่วิเคราะห์ได้ในขั้นตอนที่สอง โดยใช้วิธีทฤษฎีโครงข่ายใยประสาทเทียม (ANN) เป็นเครื่องมือในการพยากรณ์อากาศ
2.4 การออกคำพยากรณ์ช่วงเวลาและบริเวณที่ต้องการ โดยพิจารณาจากตำแหน่งและความรุนแรงของระบบลมฟ้าอากาศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว
3. การส่งคำพยากรณ์อากาศไปยังสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อไปสู่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไปตามความเหมาะสม เช่น การป้องกัน และบรรเทาภัยพิบัติ


ลักษณะการทำงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (DSS) ในประเทศไทย
ผลการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติส่งผ่านระบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์หลัก (Web Server) ที่กรุงเทพฯในชื่อว่า weather.nakhonthai.net มีการแสดงผลลัพธ์เป็นทั้งตัวเลข ณ เวลาล่าสุด และเป็นรูปแบบกราฟเส้นในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง 72 ชั่วโมงโดยที่การตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติจะทำการรายงานทุกๆ 5 นาที มีการดึงข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Downloader จากเครื่องคอมพิวเตอร์ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ ดึงข้อมูลผลการตรวจอากาศผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://weather.nakhonthai.net/data ดึงข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://metocph.nmci.navy.mil/sat/gms_nwtrop/ir/ และดึงข้อมูลเวอร์ทิซิตี้ที่ระดับ 500 เฮกโตปาสคาล ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจากhttp://www.marine.tmd.go.th/html/rjtd-vorticity/ ข้อมูลต่างๆ ก็จะมาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในโฟลเดอร์ที่กำหนด หลังจากนั้นในทุกๆ เช้าก็จะมีการใช้โปรแกรม GenDSS ในการจัดเตรียมฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแสดงผลโดยจะทำการเตรียมฐานข้อมูลแบบ Last day สำหรับข้อมูลในอดีตในส่วนข้อมูลปัจจุบันจะใช้ป้าย Today เพื่อป้อนให้กับโปรแกรม DSS ในการประมวลผลต่อไป
รูป : โปรแกรม DSS
         โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ําทวม เปนเครื่องมือที่ชวยในการเตือนภัยน้ำทวมไมใชโปรแกรมแกรมหลักที่ใชในการเตือนภัย แตจะชวยผูปฏิบัติงานด้านการเตือนภัยดานน้ำทวม เชน นักพยากรณอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา หรือเจาหนาที่ของศูนยเตือนภัยพิบัติแหงชาติ นักอุทกวิทยาของกรมชลประทานที่มีความเขาใจในระบบอากาศดีอยูแลว

ที่มา http://weatherwatch.in.th/index.php?ind=news&op=news_show_category&idc=2

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)

        ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ


ลักษณะของ DSS
1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค

ประโยชน์ของ DSS
1) ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างและและไม่มีโครงสร้าง
2) ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่ต้องมีการอาศัยข้อมูลด้วยกัน
3) มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ
4) ปรับให้ทำงานง่ายเข้ากับผู้ใช้แต่ละคน
5 )ส่งเสริมให้ผู้ใช้เกิดการเรียนรู้
6) จะใช้กับงานเชิงปริมาณ
7) ใช้กับงานที่สลับซับซ้อน
8) พัฒนาให้เป็นงานบนเว็บได้
9) ใช้ในการวิเคราะห์ได้

ส่วนประกอบและโครงสร้างของ DSS
        ระบบ DSS มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ การจัดการด้านข้อมูล (Data management) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์ (user interface) และการจัดการโมเดล (model management) (Turban et al.,2001)
1) การจัดการข้อมูล (Data management) ประกอบด้วย ฐานข้อมูลและวิธีการดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการตัดสินใจมาใช้ โดยข้อมูลเหล่านี้อาจจะมาจากดาตาแวร์เฮาส์ของบริษัท หรือฐานข้อมูลปกติทั่วไป หรือจากแหล่งภายนอกก็ได้
2) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์ (User interface) การติดต่อระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารและสั่งงานระบบ DSS ได้รูปแบบที่ง่ายที่สุดอาจจะใช้โปรแกรมสเปรดชีท (spreadsheet) หรืออาจจะใช้รูปภาพกราฟฟิคก็ได้
3) การจัดการโมเดล (Model management) ซึ่งประกอบด้วยซอฟต์แวร์ด้านการเงิน สถิติ หรือโมเดลเชิงปริมาณอื่นๆ ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์
4) การจัดการกับความรู้ (Knowledge management) เป็นระบบที่ช่วยป้อนความรู้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะ ระบบนี้จะมีเฉพาะ DSS บางประเภทเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

     โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อโครงงานนั้น ๆ การแบ่งขั้นตอนของการทำโครงงานอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงานและการวางแผนการทำโครงงานในที่นี้จะบ่งการทำงานออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้
1. การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจทำ
      โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องที่จะทำโครงงาน การอ่านค้นคว้า การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ การฟังบรรยาย รายการวิทยุโทรทัศน์ สนทนาอภิปราย กิจกรรมการเรียนการสอน งานอดิเรก การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้

- จะต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
- สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
- มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
- มีเวลาเพียงพอ
- มีงบประมาณเพียงพอ
- มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
      รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
จะต้องพิจารณาดังนี้ มูลเหตุจูงใจและเป้าหมายในการทำ วัสดุอุปกรณ์ ความต้องการของผู้ใช้งานและคุณลักษณะของผลงาน (Requirement and Specification) วิธีการประเมินผล วิธีการพัฒนา ข้อสรุปของโครงงาน ความแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางในการปรับปรุงหรือขยายการทดลองจากงานเดิม

3. การจัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ
      จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวคิดและวงแผนการพัฒนาล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของโครงงาน ขั้นตอนที่สำคัญคือ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการพัฒนา เสนอเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข

4. การลงมือทำโครงงาน
      เมื่อเค้าโครงได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้ เตรียมการ ลงมือพัฒนา ตรวจสอบผลงานและแกไข อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต

5. การเขียนรายงาน
      เป็นสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ

6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน
      เป็นการนำเสนอเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในโครงงานนั้น ในการเสนออาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ติดโปสเตอร์ การรายงานตัวในที่ประชุม การแสดงผลงานด้วยสื่อต่าง การจัดนิทรรศการ การอธิบายด้วยคำพูด

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างโครงงาน

ชื่อโครงงาน

For-rest (Forrest) เพื่อพักผ่าน (ป่า)

ชื่อผู้ทำโครงงาน

นายเกียรติศักดิ์ สนั่นวงศ์สังข์ นายชัชพิสิฐ สภาวสุ นายอาจหาญ วงศ์ศรีชา

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ วีระวัฒน์ ตันติศิริวัฒน์ 

สถาบันการศึกษา

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 

โครงงานได้รับรางวัล

ได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม โครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 ประจำปีงบประมาณ 2551 

ระดับชั้น

อื่นๆ 

หมวดวิชา

คอมพิวเตอร์ 

วัน/เดือน/ปี ทำโครงงาน

ไม่ระบุ

บทคัดย่อ

โครงการ FOR-REST (FOREST) (อ่านได้ที่แปลว่า “เพื่อการพักผ่อน” และเป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “ป่า” ในภาษาอังกฤษ ) จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันความรู้ ส่งเสริมการป้องกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านสื่อเทคโนโลยีเว็บ 2.0 (Social Web) Social Network Service (SNS) โครงการได้เน้นให้เกิดสังคมออนไลน์ขนาดย่อม เพื่อร่วมทำกิจกรรมภายในเว็บไซต์และกิจกรรมนอกสถานที่ ที่ทางเว็บไซต์ได้จัดตั้งขึ้น โดยกิจกรรมภายในได้เน้นให้เกิดทักษะความรู้ต่างๆเกี่ยวกับธรรมชาติมากมาย เช่น การปลูกต้นไม้จำลอง การผสมปุ๋ยจำลอง การดูแลต้นไม้จำลองอย่างถูกวิธี การขอคำปรึกษาจากสมาชิกท่านอื่น การโพสต์คลิปวีดีโอสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยและตกแต่งหน้าเว็บเพจของตนเอง และกิจกรรมภายนอกได้เน้นการนำความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมภายในเว็บไซต์มาใช้งานจริงโครงการ FOR-REST (FOREST) จึงมีความคิดแนวสร้างสรรค์ในการสร้างเว็บไซต์ที่ไม่เป็นเพียงแค่การสนทนากันเท่านั้น แต่ผู้ใช้งานยังสามารถใช้ความรู้ ใช้ความสามารถที่มีอยู่เดิม มาทำกิจกรรมร่วมกันกับทางเว็บไซต์ หลังจากที่ผู้ใช้งานได้ทำกิจกรรมต่างๆ แล้ว ผู้ใช้งานจะได้รับความรู้ ความสามารถเพิ่มเติม แตกต่างจากการอ่านบทความทางวิชาการบนเว็บไซต์อื่นๆเพียงอย่างเดียว เพราะความรู้ความสามารถนี้มาจากการดำเนินชีวิตของผู้ใช้งานเอง จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถปลูกจิตสำนึกให้กลุ่มเป้าหมายร่วมมือกันช่วยป้องกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ จากพื้นฐานความรู้ที่ทางเว็บไซต์ FOR-REST (FOREST) เป็นผู้กำหนด และจากความรู้ที่สั่งสมและส่งต่อกันเองของกลุ่มผู้ใช้ที่ตั้งเป็น community บนเว็บไซต์นี้แล้วร่วมกัน

....................................................................................................................................


สรุป : จากที่ได้ศึกษาตัวอย่างโครงงานนี้ ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับโครงการ FOR-REST ซึ่งเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันความรู้ ในเรื่องการส่งเสริมป้องกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านทางสื่อเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นเว็บไซต์ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่การสนทนากันเท่านั้น แต่ผู้ใช้งานยังสามารถใช้ความรู้ ความสามารถ มาทำกิจกรรมร่วมกัับทางเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมภายในเว็บไซต์และกิจกรรมนอกสถานที่ ที่ทางเว็บไซต์ได้จัดตั้งขึ้น โดยกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยปลูกจิตสำนึกให้กลุ่มผู้ใช้งานร่วมมือกันช่วยป้องกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/project/view/672

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กิจกรรม - โครงงานคอมพิวเตอร์

1.โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร?
 ตอบ   โครงงานคอมพิวเตอร์หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ในการศึกษาทดลองแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อนำผลงานที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือเพื่อใช้สร้างสื่อเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.โครงงานคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
 ตอบ   ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์นั้นมี 5 ประเภท
           1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media Development)
           2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
           3. โครงงานจำลองทฤษฏี (Theory Simulation)
           4. โครงงานประยุกต์ใช้งาน (Application)
           5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

3.ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่าง 2 โครงงาน



คำศัพท์คอมพิวเตอร์

...คำศัพท์คอมพิวเตอร์ที่น่าสนใจ...

1> assembly language : ภาษาแอสเซมบลี

2> input/output : รับเข้า/ส่งออก

3> auxiliary storage : หน่วยเก็บช่วย หน่วยเก็บรอง
4> background processing : การประมวลผลส่วนหลัง

5> backup : การสำรอง


6> BASIC : ภาษาเบสิก


7> batch processing : การประมวลผลแบบกลุ่ม

8> binary number system : ระบบเลขฐานสอง

9> booting the system : การเริ่มทำงานของระบบ

10> buffer : ที่พักข้อมูล ที่ปรับอัตรา หรือกันชน

11> bug : จุดบกพร่อง

12> instruction : คำสั่งหรือคำสั่งเครื่อง

13> byte : ไบต์

14> cache memory : หน่วยความจำแบบแคช


15> CAD/CAM : การออกแบบและผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

16> CAI : การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

17> constant : ค่าคงที่

18> control program : โปรแกรมควบคุม

19> control unit : หน่วยควบคุม

20> coursor : ตัวชี้ตำแหน่ง

21> cylinder : ทรงกระบอก

22> data : ข้อมูล
23> data base : ฐานข้อมูล

24> data base administrator : การบริหารฐานข้อมูล

25> data base management system : ระบบการจัดการฐานข้อมูล

26> cathaode ray tube : หลอดภาพ

27> central processing unit : หน่วยประมวลผลกลาง

28> channel : ช่องสัญญาณหรือร่องข้อมูล

29> chip : ชิป

30> compiler : ตัวแปลชุดคำสั่งหรือชุดคำสั่งแปลชุดคำสั่ง

31> computer : คอมพิวเตอร์หรือคณิตกร

32> computer network : ข่ายงาน หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์

33> computer operator : การดำเนินการคอมพิวเตอร์หรือการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

34> console : ส่วนเฝ้าคุมหรือจอเฝ้าคุม

35> data communications : การสื่อสารข้อมูล


36> interface : ตัวเชื่อมประสาน

37> data processing : การประมวลผลข้อมูล

38> debug : แก้จุดบกพร่อง

39> decision support system : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

40> deagnosties : การวินิจฉัย

41> difference engine : เครื่องคำนวณทางตรรกะ

42> digital computer : คอมพิวเตอร์เชิงตัวเลข,คณิตกรเชิงตัวเลข

43> direct-access : การเข้าถึงโดยตรง

44> diskette : แผ่นบันทึก

45> distributed data processing : การประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย

46> documnutation : การจัดทำเอกสาร

47> function : ส่วนหน้าที่ย่อย

48> electronic mail : การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์

49> master file : แฟ้มข้อมูลหลัก

50> EPROM : หน่วยความจำโปรแกรมลบได้

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต


 1.Search engine 

          Search engine คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป



















 2.Chat 

           แชท (Chat) คือการพูดคุยออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจใช้โปรแกรมแตกต่างกันไปค่ะ เช่น MSN, Google talk, Yahoo Messenger, Skype , Line
Chat Room (ห้องสนทนา) คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความถึงกัน โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วแม้ไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ในทันที ไม่จำกัดอายุและเพศ ซึ่งการเข้าไปสนทนาเราจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น www.sanook.com, www.pantip.com เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนได้ ไม่ว่าจะเพื่อความรู้ หรือบันเทิง

1.Line


2.Facebook messenger




3.Skype




ที่มา : http://krupichit.wordpress.com


 3.Social Network 

               Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก



















วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Web Browser

1. นักเรียนใช้ Internet สำหรับทำอะไร ให้นักเรียนตอบมา 10 อย่าง

 ตอบ    1.ค้นหาข้อมูลต่างๆ
             2.ติดตามข่าวสารบ้านเมือง
             3.คิดค่อสื่อสารกับบุคคลอื่น
             4.ซื้อหรือขายของผ่านทาง Internet
             5.ใช้เพื่อความบันเทิง
             6.ใช้เพื่อการศึกษา
             7.ส่งไฟล์งานผ่านทาง อีเมล
             8.สร้างบล็อก เผยแพร่ข้อมูล
             9.ดาวน์โหลดข้อมูล
             10.ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นต่างๆของผู้อื่น


2. เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) หมายถึงอะไร ?

 ตอบ   โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดดูข้อมูลต่างๆ ซึ่งข้อมูลในเว็บเพจ เขียนด้วยภาษา HTML ทำหน้าที่ในการแสดงผลของข้อมูลเอกสาร เว็บบราวเซอร์สามารถอ่านข้อมูลที่เป็นภาพ 2 มิติ 3 มิติ ภาพเคลื่อนไหว เสียง เชื่อมโยงข้อมูล สามารถจัดเก็บในรูปแบบต่างได้

3.ยกตัวอย่างเว็บเบราวเซอร์ มา 4 โปรแกรม (พร้อมรูปภาพ)

 ตอบ 
Internet Explorer

Mozilla Firefox



Google Chrome


  Opera


ที่มา :https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20130608210506AACv7EI
      http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=620fc9f112a588fc

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

My Profile


 Profile 

ชื่อ : นาย ตรีฉัตร ปานจิระโชติ < Treechat Panjirachot >
ชื่อเล่น : ก้านพลู < Karnpool >
วันเกิด : 25/05/41
ศึกษาอยู่ที่ : โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
Facebook : Karnpool Treechat
ID Line : karnpool_zocute